จากการศึกษาของหน่วยงานป้องกันภัยพิบัติของญี่ปุ่น พบว่า มูลเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตและได้รับอันตรายจากภัยพิบัติ คือ ความตื่นตระหนก และไม่มีการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะภัยพิบัติที่น่ากลัวที่สุด คือ แผ่นดินไหว เนื่องจากไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ |
||||
แต่ถ้าเป็นชาวต่างชาติที่มาจากประเทศซึ่งไม่ค่อยมีแผ่นดินไหวแล้ว มักไม่ค่อยมีแนวคิดว่า “เสียงกึกกัก น่าจะเกิดแผ่นดินไหว!” เมื่อ ไม่มีการตั้งสติจึงอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น และตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูก บางคนได้แต่นั่งกอดกัน แทนที่จะหาทางหนีไปยังสถานที่ปลอดภัย |
||||
การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติมีขึ้นในทุกระดับของสังคม โรงเรียนจะให้ความรู้เรื่องภัยพิบัติ ชุมชนและหน่วยงานต่างๆก็มีการซ้อมรับมือภัยพิบัติปีละอย่างน้อย 2 ครั้ง และเมื่อไปติดต่อราชการที่อำเภอจะได้รับ “คู่มือป้องกันภัยพิบัติ” ซึ่งจะมีเนื้อหาบอกถึงการเตรียมสิ่งของที่จำเป็นในยามเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งแผนที่สถานที่หลบภัยของแต่ละชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนและสวนสาธารณะ ขณะที่ตามถนนก็จะมีป้ายบอกเส้นทางหนีภัยอย่างชัดเจน ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นทุกบ้านจะรู้ว่าหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจะต้องมุ่งหน้าไปยังสถานที่ ใด สำหรับชาวต่างชาติแล้ว เมื่อไปขึ้นทะเบียนที่อยู่อาศัยที่อำเภอก็จะได้รับคู่มือป้องกันภัยพิบัติ เช่นเดียวกัน นอกจากนี้รัฐบาลในท้องถิ่นต่างๆ ยังได้จัดทำข้อมูลเส้นทางหนีภัยและการรับมือภัยพิบัติแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั้งในรูปแบบหนังสือ, DVD และเว็บไซต์ด้วย |
||||
|
||||
นอกจากข้อมูลจากหน่วยราชการท้องถิ่น,ผู้นำชุมชน และ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ NHK แล้ว สื่อมวลชนอื่นๆ ของญี่ปุ่น ก็นำเสนอข่าวสารเรื่องการป้องกันภัยพิบัติอยู่เป็นประจำ ทำให้ชาวญี่ปุ่นมี "สัญชาติญาณการระวังภัย" อยู่ในตัวเอง |
||||
|
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000047636