เกิดโรคเสพติดอย่างใหม่ขึ้นอีกแล้ว มันไม่ใช่สิ่งอื่นไกล หากแต่เป็นโรคเสพติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งกำลังครองโลกอยู่ในทุกวันนี้ มันจะทำให้เราเป็นคนที่ผิดไปจากเดิม อย่างเช่นเป็นคนขี้อิจฉา เป็นคนอารมณ์เสียประจำและยังมีอาการซึมเศร้าอีกด้วย
ทาง การเมืองคาริยะ จ.ไอจิ ของญี่ปุ่น เตรียมรณรงค์ห้ามเด็กชั้นประถมถึงมัธยมต้นใช้สมาร์ทโฟนและเครื่องมือสื่อสาร อื่นๆ หลัง 3 ทุ่ม ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. นี้เป็นต้นไป โดยการรณรงค์ไม่ได้บังคับทางกฏหมาย แต่จะขอความร่วมมือกับทางผู้ปกครองของเด็ก ช่วยกันงดการใช้เครื่องมือสื่อสารหลังช่วงเวลาค่ำคืน เพื่อป้องกันการรังแกระหว่างเด็กผ่านแอพพลิเคชั่นสนทนา...
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า สาเหตุที่คนอายุก่อน 20 ปีเสพติดบุหรี่เกือบทั้งหมด เพราะสมองส่วนหน้าสุด ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดอย่างมีเหตุผล การควบคุมพฤติกรรม การตัดสินใจที่ดีในการแก้ปัญหา โดยจะปรับความสมดุลระหว่างการตอบสนองตามสัญชาตญาณ แรงผลักดันจากภายใน และปฏิกิริยาทางอารมณ์กับการคิดอย่างมีเหตุผลนั้น จะพัฒนาเต็มที่หลังจากอายุ 20-25 ปี วัยรุ่นจึงมีความเสี่ยงต่อการตอบสนองทางอารมณ์ ทำให้อาจจะทำสิ่งต่างๆ โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งที่จะเป็นผลตามมาจากการกระทำนั้นๆ
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีปัญหาเด็กติดเกมส์ แต่ที่อื่นๆทั่วโลกเองก็ประสบปัญหานี้ทั้งนั้น หากเด็กขาดสมาธิ ไม่รู้จักการแบ่งเวลาที่ดี และขาดการรับผิดชอบ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศเกาหลีใต้ที่ตอนนี้อุตสาหกรรมเกมส์เป็นรายได้หลักของประเทศถึง มีมูลค่านับแสนล้านบาท แต่รัฐบาลเกาหลีใต้เองก็ยังมองว่าปัญหาเด็กติดเกมส์เป็นปัญหาใหญ่ที่พวกเขาควรเร่งแก้ไข จึงได้มีการยื่นมติสภา เสนอให้มีร่างกฏหมายความคุมพิเศษกับเกมออนไลน์เกิดขึ้น ให้เท่าเทียมกับการควบคุมเรื่องการพนันและยาเสพย์ติด
จากการศึกษาในสัตว์พบว่าพฤติกรรมที่สัตว์แสดงออกเป็นผลสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านความทรงจำในระดับพันธุกรรม โดยการทดลองแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ร้ายๆ มีผลกระทบต่อดีเอ็นเอในสเปิร์ม ซึ่งส่งผลสมองและพฤติกรรมของทายาทในรุ่นถัดๆ มา
การเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและมีผู้สนใจ เล่นกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการโพสต์ การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมายทั้งเรื่องในแง่บวกและแง่ลบที่สามารถเข้าถึง กลุ่มผู้เล่นอย่างกว้างขวาง และด้วยความยอดนิยมไม่รู้ว่าใครเป็นใครเหล่านี้เองได้ก่อให้เกิดผู้ที่มี พฤติกรรมหนึ่งที่เราเรียกว่า “สต๊อกเกอร์” มาติดตามสอดส่องเป้าหมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดีและไม่ดี บางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้เล่นที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์